ไหว้พระ 19 วัดเชียงใหม่เสริมมงคลให้ชีวิต

สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่-ไหว้พระ 19 วัดเชียงใหม่เสริมมงคลให้ชีวิต เชียงใหม่เมืองท่องเที่ยวลำดับต้นๆ ของภาคเหนือ ที่มาเยือนกี่ครั้งก็ประทับใจต้องกลับมาอีก เพราะเชียงใหม่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติให้เยี่ยมชมอยู่มากมาย ทั้งซากเมืองเก่า สวนสาธารณะ น้ำตก เส้นทางเดินป่า อีกทั้งวัดวาอารามที่มีอยู่อย่างมากมาย วันนี้ทีมแอดมินมี 19 วัดดังในเชียงใหม่มาแนะนำจ้า  

พระธาตุดอยสุเทพ
พระธาตุดอยสุเทพ

1.วัดพระธาตุดอยสุเทพ
เดินทางตาม ถ. ห้วยแก้ว ผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยไปตามทางคดเคี้ยวขึ้นเขา ระหว่างทางจะมองเห็นตัวเมืองเชียงใหม่อยู่เบื้องล่าง ระยะทางจากเชิงดอยถึงวัดประมาณ 11 กิโลเมตรใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง วัดพระธาตุดอยสุเทพมีบันไดนาค ประมาณ 300 ขั้น หรือสามารถใช้บริการกระเช้ารถไฟฟ้า วัดแห่งนี้ถือเป็นปูชนียสถานคู่เมืองเชียงใหม่ ถ้าหากใครที่มาเยือนเมืองเชียงใหม่แล้วไม่ได้ขึ้นไปนมัสการถือเสมือนว่ายังมาไม่ถึงเชียงใหม่ ในวันวิสาขบูชาของทุกปี จะมีประเพณีเดินขึ้นดอยเวียนเทียน และสรงน้ำพระธาตุ นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถสองแถวที่บริการอยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพตั้งแต่เวลาประมาณ 05.30–20.00 น. เป็นประจำทุกวัน  ค่าเข้าชม คนไทยฟรี ชาวต่างชาติ 30 บาท ค่าบริการรถรางคนไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท
สอบถามเพิ่มเติม 053-295-003, 053-295-012

2.วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
อยู่ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นวัดสำคัญในประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดินล้านนามานับแต่อดีต พญาผายูกษัตริย์องค์ที่ 5 ในราชวงศ์มังรายโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดนี้ขึ้น ในปีพ.ศ. 1888 พร้อมทั้งสร้างพระเจดีย์สูง 24 ศอกองค์หนึ่ง เพื่อใช้เป็นที่บรรจุอัฐิของพญาคำฟู พระราชบิดา มีพระพุทธรูปที่สำคัญอยู่องค์หนึ่งคือพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปปาง มารวิชัยขัดสมาธิเพชร
ตามประวัติของพระพุทธสิหิงส์นั้นเล่าไว้ว่า พระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์เม็งราย ผู้ครองนครเชียงใหม่ ทรงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงรายเพื่อไปประดิษฐานไว้ยัง วัดสวนดอก แต่พอราชรถมาถึงวัดลีเชียง ก็ปรากฎว่าติดขัดไม่สามารถเดินทางต่อไปได้อีก ดังนั้นพระเจ้าแสนเมืองมาจึงให้ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ที่วัดลีเชียงนี้ ประชาชนนิยมเรียกพระพุทธสิงหิงค์สั้น ๆ ว่า พระสิงห์ จึงได้เรียกชื่อวัดพระสิงห์
เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ชาวเมืองจะอัญเชิญพระพุทธรูปองค์ นี้แห่ไปตามถนนรอบเมืองเพื่อให้ประชาชนสรงน้ำโดยทั่วกัน ในวิหารลายคำซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ยังมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง สุพรรณหงส์ และสังข์ทองซึ่งพบเพียงที่นี่แห่งเดียว ยังมีศิลปกรรมอื่นๆ ที่น่าชม ได้แก่ พระอุโบสถตกแต่งแบบศิลปะล้านนา หอไตรประดับด้วยรูปปูนปั้นเทวดา และเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา
ความเชื่อและวิธีการบูชา พระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์ถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีมะโรง (งูใหญ่) หากได้มานมัสการอย่างน้อยสักครั้งหนึ่งแล้ว จะเป็นมงคลสูงสุดทำให้อายุมั่นขวัญยืน มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป

 3.วัดบ้านเด่นสะหรีศรีเมืองแกน
วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน เดิมชื่อ วัดสหรีศรีบุญเรือง สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2437 ตั้งอยู่บนบริเวณเนินเขาเตี้ยๆ ในพื้นที่ของหมู่บ้าน ภายใต้เนินเขามีถ้ำซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวบ้าน ที่เคารพนับถือ จึงเรียกว่า วัดบ้านเด่น ครูบาชัยยา วัดป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ได้มาเป็นองค์ประธานริเริ่มการก่อสร้างวัดบ้านเด่น ตั้งแต่นั้นมาวัดบ้านเด่น มีพระภิกษุสามเณร มาจำพรรษาตลอดทุกๆ ปี
จนถึงวันศุกร์ ที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2531 คณะศรัทธาวัดบ้านเด่นจึงไปกราบอาราธนานิมนต์ ครูบาเจ้าเทือง นาถสีโล วัดหัวดง ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ มาเป็นประธานในการก่อสร้างศาสนสถานสมบัติทั้งหมดภายในวัดบ้านเด่น ตลอดเรื่อยมาถึงปัจจุบันงานบุญแต่ละครั้งจะมีศรัทธาสาธุชนลูกศิษย์ครูบามาร่วมกราบไหว้ขอพรอย่างเนืองแน่นเสมอ จึงมีชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธา นำเงินมาเป็นปัจจัยในการทำบุญเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนไม่น้อย ครูบาก็ไม่ต้องการจะเก็บเงินส่วนนี้ไว้ ประกอบกับคิดอยากจะสร้างอนุสรณ์ แห่งบุญที่เป็นรูปธรรมขึ้นมา จึงได้มีการปรับปรุง ก่อสร้างวัดเสียใหม่ เมื่อปีพ.ศ.2534 บนพื้นที่ 80ไร่ ของวัด ที่มีทำเลที่ตั้ง อยู่บนเนินสูงมองเห็นวิวทุ่งนา
การก่อสร้างนั้นเป็นแบบล้านนาประยุกต์ที่ผสมผสานกับแนวคิดของครูบา คือคิดจะใส่อะไร จะทำอะไรก็ทำและต้องมีความมั่นคง ครูบาต้องการให้เป็นการผสมผสานระหว่างวัดบ้านกับวัดป่า เพราะมีความเชื่อที่ว่าศาสนาอยู่ได้เพราะปฏิบัติ การแบ่งแยกไม่ใช่เรื่องสำคัญ
สถานที่แห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปที่ชื่อเสียงจากวัดชื่อดังทั่วประเทศ อาทิเช่น หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครง หลวงพ่อพระพุทธชินราช หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน  หลวงพ่อพระศรีศากยสิงห์  หลวงพ่อพระพุทธสีหิงห์  หลวงพ่อพระนาคปรก  หลวงพ่อพระพุทธจักรพรรดิราช  หลวงพ่อวัดไร่ขิง และหลวงพ่อพระพุทธโสธร เรียกได้ว่าใครที่มาที่สถานที่แห่งนี้ แทบจะได้กราบนมัสการขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลเกือบครบทุกองค์เลยทีเดียว
การเดินทาง : ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 เชียงใหม่ – ฝาง  ผ่านสามแยกแม่มาลัย อำเภอแม่แตง จากนั้นให้สังเกตป้ายทางเข้าเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลทางด้านขวามือ เลี้ยวขวาเข้าไปไม่ไกลมาก จะเจอซุ้มยินดีต้อนรับสู่เทศบาลเมืองแกน เมื่อลอดซุ้มแล้วให้เลี้ยวซ้ายซอยเล็ก ๆ ก่อนถึงสนามกีฬา แล้วก็ตรงไปเรื่อย ๆ ก็จะเจอวัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน ตั้งอยู่ด้านซ้ายมือ

 4.วัดปง

 5.วัดพระธาตุดอยคำ
วัดพระธาตุดอยคำมีอายุเก่าแก่กว่า 1,300 ปี ตั้งอยู่บนดอยคำ บริเวณด้านหลังของอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ10 กิโลเมตร
ตามประวัติ เมื่อ พ.ศ. 2509 วัดดอยคำเป็นวัดร้าง ต่อมากรุแตกชาวบ้านพบโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น พระรอดหลวง พระหินทรายปิดทององค์ใหญ่ พระสามหมอ (เนื้อดิน) พระธาตุดอยคำนอกจากจะเป็นที่สักการบูชาของคนท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์อีกแห่งหนึ่งของการบินไทยที่ใช้กำหนดพื้นที่ทางสายตา ก่อนที่จะลงจอดที่สนามบิน
หลวงพ่อทันใจ วัดพระธาตุดอยดำ เป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงมากในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ จากการอธิษฐานขอพร ทั้งในเรื่่องของการขอโชคลาภทั้งจากการค้า การงาน หรือการเสี่ยงโชคต่างๆ หลายต่อหลายครั้งที่มีผู้เดินทางมาขอพร บนบาน แล้วประสบความสำเร็จ และได้เดินทางกลับมาถวายดอกมะลิเพื่อแก้บน
ตั้งอยู่ที่ 108 ถ.เชียงใหม่-หางดง ต.แม่เหียะ อ.เมือง

6.วัดอุโมงค์
วัดอุโมงค์สร้างขึ้นในสมัยพญามังรายราวปี พ.ศ. 1839 เพื่อให้ฝ่ายอรัญวาสีจำพรรษา ต่อมา  “พระเจ้ากือนาธรรมิกราช” ทรงสร้างอุโมงค์ขึ้นเพื่อให้พระมหาเถระจันทร์ใช้เป็นที่วิปัสสนากรรมฐาน ด้านหลังเป็นสวนป่าและสวนสัตว์ซึ่งเป็นเขตอภัยทาน

ตั้งอยู่ที่ 135 ถ. ราชภาคินัย ต. สุเทพ อ.เมือง
http://www.watumong.org

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร

7.วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อยู่ที่ถนนพระปกเกล้า วัดนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่พอดี ประดิษฐานเจดีย์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย (พ.ศ.1913-1954) ต่อมาพระยาติโลกราชโปรดให้ช่างขยายเจดีย์ให้สูงและกว้างกว่าเดิม แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2024 และอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานระหว่าง พ.ศ.2011-2091 นานถึง 80 ปี ต่อมาในสมัยพระนางจิระประภา ได้เกิดแผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ. 2088 ทำให้ยอดเจดีย์หักโค่นลง ปัจจุบันเจดีย์มีความสูงคงเหลือ 40.8 เมตร ฐานกว้างด้านละ 60 เมตร
วิหารหลวงของวัดนี้เจ้าคุณอุบาลีคุณปรมาจารย์ (สิริจันทะเถระ) และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นผู้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2471 หน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาคเลื้อยงดงามยิ่ง ใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหาร นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิมได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุดของภาคเหนือ
ในวัดเจีย์หลวงนี้ยังมี เสาอินทขิล หรือ เสาหลักเมือง สร้างขึ้นเมื่อครั้งพ่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1839 ประดิษฐานอยู่ในวิหารจตุรมุขทรงไทยหลังเล็กๆ เสาอินทขิลนี้สร้างด้วยไม้ซุงต้นใหญ่ ฝังอยู่ใต้ดิน ทุกปีในวันแรม 12 ค่ำเดือน 8 (เหนือ) หรือประมาณเดือนพฤษภาคมจะมีงานเรียกว่า เข้าอินทขิล เป็นการฉลองหลักเมือง
ที่ตั้ง เลขที่ 103 ถ. พระปกเกล้า ต. พระสิงห์

วัดเจ็ดยอด
วัดเจ็ดยอด

8.วัดเจ็ดยอด หรือ วัดโพธารามมหาวิหาร
เจดีย์เจ็ดยอด ลักษณะคล้ายกับมหาวิหารโพธิที่พุทธคยาในประเทศอินเดีย ที่ฐานเจดีย์ประดับปูนปั้นรูปเทวดา ด้านนอกพระเจดีย์ก็เช่นกันประดับงานปูนปั้นรูปเทวดาทั้งนั่งขัดสมาธิและยืนทรงเครื่องที่มีลวดลายต่างกันไปดูงามน่าชม สถูปเจดีย์พระเจ้าติโลกราช เมื่อพระเจ้าติโลกราชสวรรคตในปี พ.ศ.2030 พระยอดเชียงราย ราชนัดดาได้สืบราชสมบัติแทน และโปรดให้สร้างสถูปใหญ่บรรจุอัฐิของพระอัยกาธิราช และ สัตตมหาสถาน คือสถานที่สำคัญในพุทธประวัติเจ็ดแห่ง ได้แก่ โพธิบัลลังก์ อนิมิตเจดีย์ รัตนจงกรมเจดีย์ รัตนฆรเจดีย์ อชปาลนิโครธเจดีย์ ราชายตนเจดีย์ ปัจจุบันเหลืออยู่ที่วัดเจ็ดยอดเพียงสามแห่ง คือ อนิมิตเจดีย์ รัตนฆรเจดีย์ มุจจลินทเจดีย์
ที่วัดนี้เป็นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ ในรัชสมัยพระยาติโลกราช พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก ทรงสนับสนุนคณะสงฆ์นิกายสิงหล (ลังกาวงศ์) ทรงส่งเสริมการเล่าเรียนทางด้านปริยัติธรรม ทำให้ภิกษุล้านนามีความเชี่ยวชาญภาษาบาลี และในปีพ.ศ. 2020 โปรดให้ประชุมพระเถระชั้นผู้ใหญ่เพื่อชำระพระไตรปิฎก ณ วัดโพธารามมหาวิหาร (วัดเจ็ดยอดในปัจจุบัน) ใช้เวลา 1 ปีจึงเสร็จ นับเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ของโลก เป็นครั้งแรกของไทย และถือเป็นหลักปฏิบัติของสงฆ์ในล้านนา
ที่ตั้ง ถ. ซุปเปอร์ไฮเวย์ (เชียงใหม่-ลำปาง) ต. ช้างเผือก 053-221-464,053-218-639,081-951-3268

วัดอุปคุต
วัดอุปคุต

9.วัดอุปคุต
ตั้งอยู่ถนนท่าแพ ด้านสะพานนวรัฐ ลงจากสะพานผ่านสี่แยกมาประมาณ 10 เมตร จะพบวัดอยู่ทางด้านซ้ายมือ สิ่งที่น่าสนใจคือ ประเพณีใส่บาตรพระอุปคุต ชาวเหนือเชื่อว่าหากเดือนใดมีวันเพ็ญที่ตรงกับวันพุธ หรือที่เรียกว่า “เป็งพุธ” พระอุปคุตจะปลอมเป็นเณรมาบิณฑบาตตอนเที่ยงคืน ชาวบ้านเชื่อว่าหากได้ใส่บาตรพระอุปคุตจะได้บุญมาก จึงมีประเพณีใส่บาตรตอนเที่ยงคืน
ภายในวิหารประดิษฐานพระอุปคุตซึ่งเป็นพระประธาน มีภาพจิตรกรรมฝาผนังสีน้ำมันเรื่องพระเวสสันดรชาดก ซึ่งสะท้อนวิถีชีวิตของชาวเหนือ วาดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2470 โดยพ่อบุญปั๋ง พงษ์ประดิษฐ์ ศิลปินล้านนา อาคารที่มีลักษณะแปลกตาอีกหลังหนึ่งคือหอเก็บพระพุทธรูปทรงลูกบาศก์ ยกพื้นสูงมีลายปูนปั้นประดับอยู่โดยรอบผนังด้านนอก ทวารบาลเป็นยักษ์ปูนปั้น บานประตูลงรักปิดทอง
ถนนท่าแพ ด้านสะพานนวรัฐ อำเภอเมือง

วัดสวนดอก
วัดสวนดอก

10.วัดสวนดอก หรือวัดบุปผาราม
พญากือนาทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1914 (ศักราชนี้ถือตามหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ของพระรัตนปัญญาเกตุ) เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถระสุมน ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในล้านนา วัดนี้แต่เดิมเป็นพระราชอุทยานของกษัตริย์ล้านนาไทยสมัยแรกเริ่ม มีสถาปัตยกรรมสำคัญ คือ เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงกลม กู่บรรจุอัฐิเจ้าตระกูล ณ เชียงใหม่ และวิหารโถง นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าเก้าตื้อ ซึ่งพญาเมืองแก้วโปรดให้หล่อขึ้น เป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ ศิลปะล้านนาผสมกับศิลปะสุโขทัย
ตั้งอยู่ที่ 139 ถ. สุเทพ ต.สุเทพ
www.watsuandok.com

วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดพระพุทธบาทสี่รอย

11.วัดพระพุทธบาทสี่รอย
วัดแห่งนี้ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่ได้จำลองขึ้น ซ้อนกันอยู่ 4 รอย ได้แก่ พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ ยาว 12 ศอก (ยาว 6 เมตร) พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าโกนาคมนะ ยาว 9 ศอก พระพุทธเจ้ากัสสปะ ยาว 7 ศอก พระพุทธเจ้าโคตะมะ ยาว 4 ศอก ปัจจุบันได้สร้างพระวิหารครอบรอยพระพุทธบาทไว้ และเป็นรอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
ต.สะลวง อ.แม่ริม

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

12.วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร (พระธาตุประจำปีชวด)
เป็นวัดสำคัญคู่เมืองจอมทอง และเป็นที่เคารพสักการะของชาวเหนือโดยทั่วไป ประเพณีเด่นของวัดคือ “การแห่ไม้ค้ำโพธิ์” ซึ่งเป็นประเพณีของชาวล้านนาที่ถือว่าการเอาไม้มาค้ำโพธิ์เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาในวันที่ 15เมษายนของทุกปี
กิโลเมตรที่ 58 A.Chomthong Chiang Mai

วัดเชียงมั่น
วัดเชียงมั่น

13.วัดเชียงมั่น
วัดเชียงมั่น อยู่ถนนราชภาคินัย อำเภอเมือง เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในตัวเมืองเชียงใหม่เมื่อพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 1839 พระองค์ทรงยกพระตำหนักเชียงมั่น ถวายเป็นพระอารามให้ชื่อว่า วัดเชียงมั่น
วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญของเชียงใหม่ คือ พระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวเชียงใหม่
สถาปัตยกรรมสำคัญ ได้แก่ เจดีย์สี่เหลี่ยมผสมทรงกลม ฐานช้างล้อม พระอุโบสถ และหอไตร และที่สำคัญคือ เจดีย์ทรงระฆังฐานสี่เหลี่ยม และมีช้างล้อมที่ฐานหมายความว่าคำจุนพระพุทธศาสนาไว้
เจดีย์ช้างล้อม เป็นเจดีย์รูปทรงสถาปัตยกรรมล้านนาฐานช้างล้อม องค์เจดีย์ผสมสี่เหลี่ยมและทรงกลมเปิดทองจังโก สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1840ครั้งพญามังรายสถาปนาวัดเชียงมั่น และได้รับการบูรณะซ่อมแซมจากผู้ครองนคเชียงใหม่สืบมา กรมศลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วเมื่อ พ.ศ. 2478

วัดบุพพาราม
วัดบุพพาราม

14.วัดบุพพาราม
ตั้งอยู่บนถนนท่าแพเยื้องกับวัดแสนฝาง อำเภอเมือง เป็นวัดคู่เมืองเชียงใหม่ พระเมืองแก้วโปรดให้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2039 ได้รับการบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2362 เจ้าหลวงธรรมลังกาโปรดให้สร้างวิหารหลังเล็กซึ่งเป็นเครื่องไม้ศิลปะล้านนา หน้าบันเป็นปูนปั้นประดับกระจกแกะลายสลักไม้อย่างงดงาม ส่วนวิหารหลังใหญ่หน้าบันมีลวดลายไม้แกะสลักแบบพม่า เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อด้วยทองแดงล้วนหนัก 1 โกฏิ อายุ 400 ปีเศษ และพระพุทธรูปเชียงแสนหล่อด้วยสำริดอยู่ทางด้านซ้ายและขวาอีกหนึ่งคู่
ภายในหอมณเฑียรธรรมประดิษฐานพระพุทธรูปไม้สักขนาดหน้าตัก กว้าง 1 วาเศษ มีอายุประมาณ 400 ปี ตามประวัติเล่าว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยกทัพจากเมืองอยุธยาเพื่อขึ้นมาปราบอริราชศัตรูที่มารุกรานเมือง เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2147 จนทัพศัตรูได้ล่าถอยไปทางเมืองแหงและเมืองต๋วน สมเด็จพระนเรศวรฯจึงพักรบและสร้างพระพุทธนเรศศักดิ์ชัยไพรีพิาศองค์นี้ขึ้น

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร

15.วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร (วัดโชติการาม)
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อยู่ที่ถนนพระปกเกล้า วัดนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่พอดี ประดิษฐานเจดีย์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย (พ.ศ.1913-1954) ต่อมาพระยาติโลกราชโปรดให้ช่างขยายเจดีย์ให้สูงและกว้างกว่าเดิม แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2024 และอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานระหว่าง พ.ศ.2011-2091 นานถึง 80 ปี ต่อมาในสมัยพระนางจิระประภา ได้เกิดแผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ. 2088 ทำให้ยอดเจดีย์หักโค่นลง ปัจจุบันเจดีย์มีความสูงคงเหลือ 40.8 เมตร ฐานกว้างด้านละ 60 เมตร
วิหารหลวงของวัดนี้เจ้าคุณอุบาลีคุณปรมาจารย์ (สิริจันทะเถระ) และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นผู้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2471 หน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาคเลื้อยงดงามยิ่ง ใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหาร นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิมได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุดของภาคเหนือ
ในวัดเจีย์หลวงนี้ยังมี เสาอินทขิล หรือ เสาหลักเมือง สร้างขึ้นเมื่อครั้งพ่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1839 ประดิษฐานอยู่ในวิหารจตุรมุขทรงไทยหลังเล็กๆ เสาอินทขิลนี้สร้างด้วยไม้ซุงต้นใหญ่ ฝังอยู่ใต้ดิน ทุกปีในวันแรม 12 ค่ำเดือน 8 (เหนือ) หรือประมาณเดือนพฤษภาคมจะมีงานเรียกว่า เข้าอินทขิล เป็นการฉลองหลักเมือง

วัดแสนฝาง
วัดแสนฝาง

16.วัดแสนฝาง
ตั้งอยู่ที่ถนนท่าแพ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่มีศิลปกรรมพม่าผสมอยู่ โดยเฉพาะเจดีย์ที่มีการตกแต่งลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงาม นอกจากนี้ยังมีกุฏิเจ้าอาวาสซึ่งสร้างมานานกว่า 100 ปี เป็นจุดที่น่าสนใจอีกด้วย ตามประวัติเล่าว่าพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ให้รื้อที่ประทับของพระเจ้ากาวิโรรสสุริวงศ์ (เจ้าชีวิตอ้าว) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6 มาสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2420 ครั้นสร้างเสร็จแล้วจึงโปรดให้มีการฉลองในปี พ.ศ. 2421

วัดดวงดี
วัดดวงดี

17.วัดดวงดี เดิมชื่อ  “วัดต้นหมากเหนือ” ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลังจากพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว และมีเจ้านายเมืองเชียงใหม่องค์หนึ่งเป็นผู้คิดค้นการสร้าง ลักษณะของวิหารและโบสถ์เป็นแบบพื้นเมืองล้านนา มีลวดลายแกะสลักไม้ประดับสถาปัตยกรรมที่สวยงาม

วัดดับภัย
วัดดับภัย

18.วัดดับภัย เดิมชื่อ “วัดอภัย” หรือ “วัดตุงกระด้าง” มีตำนานเล่าว่า เมื่อพญาอภัยล้มป่วยทำการรักษาอย่างไรก็ไม่ทุเลา จึงตั้งจิตอธิษฐานต่อหน้าหลวงพ่อดับภัย อาการเจ็บป่วยก็หายไปพลัน พญาอภัยจึงให้บริวารลูกหลานตั้งบ้านเรือนบริเวณวัด และบูรณะปฏิสังขรณ์ จึงเรียกชื่อใหม่ว่าวัดดับภัย เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมแบบพื้นเมืองล้านนา วัดแห่งนี้มีบ่อน้ำอยู่หน้าวิหาร เชื่อว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ สมัยพระเจ้าอินทวโรรส เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 8 เสด็จกลับจากกรุงเทพฯ  ต้องแวะมาวัดดับภัย เพื่อนำน้ำในบ่อนี้ไปสรงน้ำพระพุทธมนต์ ก่อนแวะไปวัดเชียงยืนเพื่อสืบดวงชะตา

วัดลอยเคราะห์
วัดลอยเคราะห์

19.วัดลอยเคราะห์ เดิมชื่อว่า วัดร้อยข้อ (วัดฮ้อยข้อ) สร้างขึ้นในสมัยกษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย วัดนี้จึงมีอายุราว 500 ปี ในสมัยที่ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า วัดแห่งนี้ไม่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ จึงมีสภาพทรุดโทรมมาก และกลายเป็นวัดร้างกว่า 20 ปี ต่อมา ในสมัยพญากาวิละปกครองล้านนา พระองค์ทรงบูรณะซ่อมแซมวัดให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ พระองค์ทรงกวาดต้อนพลเมืองเชียงแสนและโปรดให้ชาวเชียงแสนตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ เวียงชั้นนอกด้านขวาของประตูท่าแพ ทางทิศตะวันออกของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นบริเวณวัดลอยเคราะห์ในปัจจุบันศิลปะสถาปัตยกรรมเป็นแบบพื้นเมืองของชาวล้านนา มีพระพุทธรูปปางถวายเนตรและพระเจ้าทันใจประดิษฐานอยู่
 
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง