ปูมชีวิต “ธนาธร” – ศาลรธน. เสียงข้างมาก 7-2 พ้นสภาพส.ส. ถือหุ้นสื่อ

20 พ.ย.62 ภายหลังจากที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยคดีถือหุ้นสื่อของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่

โดยมีมติคำวินิจฉัยให้ นายธนาธร พ้นจากสมาชิกภาพความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) นับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกเอกสารคำวินิจฉัยคดีฉบับเต็ม กรณีถือหุ้นสื่อของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ระบุว่า

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยด้วยมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 ให้ นายธนาธร ผู้ถูกร้องเป็นเป็นผู้ถือหุ้น บริษัทวีลัค มีเดีย จำกัด ซึ่งประกอบกิจการสื่อมวลชน อยู่ในวันที่ 6 ก.พ. 2562 ซึ่งเป็นวันที่พรรคอนาคตใหม่ยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อต่อผู้ร้องอันเป็นลักษณะต้องห้าม มิให้ผู้ร้องใช้สิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) ทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ผู้ร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสอง คือวันที่ 23 พ.ค. 2562 และให้ถือว่าวันที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 105 วรรคหนึ่ง(2) คือ วันที่ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยให้แก่คู่กรณีฟังโดยชอบตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 76 วรรคหนึ่ง วันที่ 20 พ.ย. 2562

เส้นทาง “ธนาธร” ชะตาหรือใครกำหนด – info workpoint nees

จาก workpoint news

ปูม-ประวัติ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (ชื่อเล่น: เอก) เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 นักธุรกิจ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองและนักการเมืองชาวไทย อดีตรองประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทไทยซัมมิทตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งต่อมากลายเป็นบริษัทผู้ผลิตและส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่อันดับต้นๆ ของประเทศ แต่ภายหลังตัดสินใจเข้าสู่การเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2561 เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ และต่อมาได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ผู้จดจัดตั้งพรรค ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนแรก เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การเคลื่อนไหวทางสังคมและความสนใจทางการเมืองแก้ไข

ระหว่างที่เรียนอยู่ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายธนาธรได้เข้าร่วมเรียกร้องสิทธิเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน เรียกร้องความเป็นธรรม และยืนหยัดเพื่อความถูกต้องกับผู้คนหลากหลายกลุ่มในหลายสถานการณ์ ในปี พ.ศ. 2543 ขณะร่วมเรียกร้องสิทธิกับกลุ่มสมัชชาคนจน เขาอยู่ร่วมชาวบ้านสมัชชาคนจนตอนที่ปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย จนตัวเองได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย เมื่อขึ้นชั้นปีที่ 3 นายธนาธรไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม ประเทศอังกฤษ เขาเริ่มศึกษาทฤษฎีของคาร์ล มากซ์ และวลาดีมีร์ เลนิน เขาได้เข้าร่วมกลุ่ม Socialist Worker Student Society ซึ่งเป็นองค์กรจัดตั้งระดับนักศึกษาในอังกฤษ หลังจากธนาธรสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม เขาได้กลับมาทำงานกับองค์การนอกภาครัฐในประเทศไทยได้ราวครึ่งปี[5] ต่อมาบิดาของเขาเสียชีวิตจากโรคมะเร็งในปี พ.ศ. 2545 ธนาธรวัย 23 ปี ในฐานะลูกชายคนโตของครอบครัวจึงรุ่งเรืองกิจซึ่งเป็นครอบครัวคนจีน เขาจึงจำเป็นต้องกลับมารับช่วงการบริหารธุรกิจต่อจากบิดา แม้จะอยากทำงานกับองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานเพื่อสังคมและประชาชนมากกว่า

เขามีศักดิ์เป็นหลานอาของสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ธนาธรและสุริยะให้สัมภาษณ์หลายครั้งว่าทั้งสองมีความเห็นทางการเมืองต่างกันตั้งแต่สมัยธนาธรยังเป็นนักศึกษา เพราะธนาธรไม่เห็นด้วยกับโครงการท่อส่งก๊าซไทย-มาเลย์ เป็นอย่างมากเพราะจะทำให้ประเทศไทยเสียผลประโยชน์อย่างมหาศาล นำไปสู่ความขัดแย้งกับสุริยะ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรขณะนั้น ในปี 2561 สุริยะที่ไปเข้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงธนาธรว่า “ถ้าคุณพ่อเขาไม่เสีย ทุกวันนี้เขาคงไปเดินสายเอ็นจีโอ สมัยที่เขายังเรียนอยู่ บางที CNN ออกข่าวเรื่องการต่อต้านอะไร คุณจะได้เห็นธนาธรโผล่ไปหมดแหละครับ ต่างประเทศก็ด้วย เพราะจริง ๆ เขาอยากจะเห็นโลกที่สมบูรณ์แบบ”ในแบบที่เขาคิด

การทำงานทางธุรกิจ

หลังเรียนจบนายธนาธรเกือบจะได้เดินทางไปเริ่มทำงานด้านการพัฒนาเยาวชนของสหประชาชาติที่ประเทศแอลจีเรียอยู่แล้ว[12] แต่แม่ของเขาโทรศัพท์มาแจ้งอาการป่วยหนักของพ่อซึ่งกำลังจะเข้ารับการผ่าตัดใหญ่เสียก่อน แผนชีวิตที่วางไว้ทั้งหมดพลิกกลับไปอีกขั้วหลังการจากไปของนายพัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ จากที่ไม่เคยคิดและไม่เคยสนใจจะเป็นนักธุรกิจมาก่อนเลยในชีวิต ธนาธรกลับต้องเข้ารับตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทไทยซัมมิททันทีด้วยอายุเพียง 23 ปีในขณะนั้น[13]ตั้งแต่ที่ธนาธรเริ่มเข้าไปบริหารธุรกิจ กลุ่มบริษัทไทยซัมมิทได้เติบโตขึ้นอย่างมาก จากรายได้ 16,000 ล้านบาท[14] เพิ่มขึ้นเป็นรายได้ 80,000 ล้านบาท เขาทำให้ธุรกิจครอบครัวกลายเป็นกลุ่มบริษัทระดับโลกที่มีโรงงานผลิตใน 7 ประเทศยักษ์ใหญ่ทั่วโลก รวมจำนวนพนักงานมากถึงราว 16,000 คน

ข้อตกลงทางธุรกิจที่สำคัญ เช่นกรณีที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2548 เมื่อธนาธรได้ดีลเป็นผู้ผลิตตัวถังรถยนต์ให้บริษัทเทสลา (Tesla) บริษัทสัญชาติอเมริกัน มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของรถยนต์ไฟฟ้า เป็นจำนวนถึง 500,000 คันต่อปีข้อตกลงนี้ได้สร้างสถิติใหม่ให้กับยอดขายต่อรายของไทยซัมมิท ซึ่งพุ่งขึ้นไปถึง 7,900 ล้านบาท คิดเป็นผลกำไร 5,980 ล้านบาท และด้วยข้อตกลงซื้อขายนี้เอง ที่ได้ทำให้กลุ่มบริษัทไทยซัมมิทขยายฐานการผลิตกว้างไกลออกไปอีก ด้วยการเปิดโรงงานในสหรัฐอเมริกาและพอถึงปี 2552 ไทยซัมมิทโดยการนำของนายธนาธรก็ได้ตัดสินใจซื้อ โอกิฮาระ (Ogihara) บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นผู้ผลิตแบบพิมพ์ชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งกำลังประสบภาวะวิกฤตทางการเงินอย่างหนักในขณะนั้น แต่ด้วยการเข้าไปบริหารจัดการเต็มรูปแบบภายใต้การนำของนายธนาธร โอกิฮาระก็ผ่านพ้นวิกฤต และกลับมามีผลประกอบการที่มั่นคง เลี้ยงตัวเองได้และมีกำไรในที่สุด

นอกจากธุรกิจที่ดำเนินไปด้วยดี ธนาธรยังได้รับตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครนายก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 – 2554และเขายังเป็นคนที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ระหว่างปีพ.ศ. 2550 – 2553 ธนาธรยังมีรายชื่ออยู่ในบอร์ดพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรม ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติอีกด้วย

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 หลังจากอยู่ในตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทไทยซัมมิทมาเป็นเวลา 16 ปีเต็ม ธนาธรประกาศลาออกอย่างเป็นทางการเพื่อทำงานทางการเมืองภายใต้บทบาทหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ซึ่งเขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า จะยึดมั่นงานการเมืองอย่างเดียวนับจากนี้ และจะไม่กลับไปทำธุรกิจอีก

ธนาธร ผู้ทรงอิทธิพล Time 2019

14 พ.ย.62 เว็บไซต์ นิตยสารทรงอิทธิพล Time(ไทม์) ยก ธนาธร ดาวรุ่งแห่งปี 100 คน ประจำปี 2019 (Time 100 next)

การทำงานการเมือง

วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561 ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ รศ. ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้สนับสนุนจำนวน 24 คน ได้ยื่นขอจดทะเบียนพรรคการเมืองภายใต้ชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ต่อมา เขาได้รับมติเห็นชอบ 473 เสียงจากที่ประชุมใหญ่ผู้จดจัดตั้งพรรค เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนแรก[26] เขาประกาศเจตนารมณ์ของพรรคในการยุติระบอบรัฐประหาร กลับคืนสู่ระบอบรัฐสภา สร้างประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนให้มั่นคงในสังคมไทย กระจายอำนาจ รวมทั้งร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่โดยประชาชนต้องมีส่วนร่วม

ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2562 พรรคอนาคตใหม่ชนะการเลือกตั้งใน 30 เขต และได้รับคะแนนมหาชนมากเป็นอันดับสาม รองจากพรรคพลังประชารัฐและพรรคเพื่อไทย และยังเป็นพรรคที่ได้คะแนนเสียงมหาชนในกรุงเทพมหานครมากที่สุด[30] หลังการเลือกตั้ง พรรคอนาคตใหม่และพันธมิตรทางการเมือง รวมทั้งพรรคเพื่อไทย แถลงร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล ธนาธรได้รับข้อเสนอตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อแลกกับการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล แต่ธนาธรปฏิเสธ

วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2562 เขาถูกยื่นคำร้องว่ามีคุณสมบัติลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ โดยให้เหตุผลว่าขณะสมัครรับเลือกตั้งยังถือหุ้นสื่ออยู่[32]

วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ธนาธร ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า สิ้นสุดความเป็น ส.ส. จากคดีถือหุ้นสื่อ

คดี “ธนาธร” ฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.

พ.อ. บุรินทร์ ทองประไพ ฐานะตัวแทนของ คสช. แจ้งข้อหาความผิดแก่ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ .. 2550 มาตรา 14 (2) กรณีจัดรายการ “คืนวันศุกร์ให้ประชาชน” ผ่านเฟซบุ้กไลฟ์ ที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงการนำคะแนนเสียง สส. เพื่อเป็นเสียง คสช. เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561 โดยทั้งธนาธรรับทราบข้อหากล่าวต่อพนักงานสอบสวนเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2561 และส่งคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาพนักงานสอบสวนให้ส่งสำนวนคดีแก่พนักงานอัยการภายในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ และนัดเข้าพบพนักงานอัยการในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่สำนักงานอัยการสูงสุด

วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2562 เขาถูกตั้งข้อหาปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครองและให้ที่พักพิงแก่ผู้ต้องหาอื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ 189 โดยตัวแทน คสช. อ้างว่า ข้อหาดังกล่าวมาจากเหตุการณ์ที่กลุ่มดาวดินทำกิจกรรมที่หอศิลปวัฒนธรรมเมื่อปี 2558 แล้วกลุ่มดังกล่าวหลบหนีไปด้วยรถตู้ของธนาธร

ธนาธร มีทั้งคนรัก ไม่รัก ชอบ และ ไม่ชอบ เห็นด้วยกับแนวทางการตรอสู้ทางการเมือง และไม่เห็นด้วย ขึ้นอยู่กับมุมมอง แนวคิดของแต่ละคนละท่าน ซึ่งไม่อาจก้าวล่วง วิพากษ์วิจารณ์ ..

เรื่องที่เกี่ยวข้อง